ฝ้าฮอร์โมนใช้อะไรก็ไม่หาย รักษาฝ้ายังไงดี

ว่าด้วยเรื่อง "ฝ้า” (Melasma) เป็นเหมือนกันไหมคะ ใครแนะนำอะไรว่าดีใช้หมด ขอแค่รักษาฝ้าหาย อันตรายนะคะ  ฝ้าเลือด ฝ้าฮอร์โมน ฝ้าแดด กระ เกิดมาจากที่เดียวกันเลย คือตัวผลิตเม็ดสี เรียกว่า เมลาโนไชต์ ทุกคนมีคะ ตัวผลิตเม็ดสี เมลาโนไชต์ถูกกระตุ้น จากแสงแดด ฮอร์โมน คนที่ทานยาคุม หรือ คนที่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจะผิดปกติ ทำให้เกิดฝ้าได้คะ

สาเหตุที่ใช้อะไรไม่หายเพราะ เมลาโนไชต์หรือตัวผลิตเม็ดสี มันอยู่ลึกถึงชั้นในสุดของชั้นหนังกำพร้า ผิวเรามี 3 ชั้นคะ ชั้นหนังแท้ ชั้นไขมัน ชั้นหนังกำพร้า

ซึ่งชั้นหนังกำพร้าก็มี 3-4 ชั้นย่อย เพราะฉะนั้นครีมที่แค่ผลัดเชลล์ผิวด้านนอก มันไม่สามารถลงไปลดเมลานินใต้ชั้นผิวได้เลยรักษายังไงก็ไม่หาย ต้องใช้ครีมที่มีโมเลกุลขยาดเล็ก ผลิตแบบนาโน ถึงจะลงไปลดฝ้าได้ และที่สำคัญทากันแดดเพื่อบล็อคการเกิดฝ้าด้วยนะคะ


พบว่าการเกิดฝ้ามีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับฮอร์โมน โดยเฉพาะในผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือจะเห็นได้ชัดว่าผู้หญิงที่เป็นฝ้าและรับประทานยาคุมกำเนิดจะทำให้ฝ้าเข้มขึ้นและดื้อต่อการรักษา

ฝ้าเลือด หรือฝ้าสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นฝ้าชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมเป็นกันมากที่สุดไม่แพ้ฝ้าฮอร์โมน ฝ้าเลือดมีลักษณะเป็นรอยแดงคล้ายเส้นเลือด มีสีแดงปนน้ำตาล เป็นรอยปื้นๆ มีสีชมพู สีแดง จนไปถึงสีดำ ซึ่งคนที่เป็นมักผิวหน้าแดงง่ายเมื่อถูกความร้อนจากแสงแดด เพราะผิวบริเวณนั้นมีความบอบบางจึงเกิดความไวต่อแสงได้ง่าย และจะจางลงเมื่ออากาศเย็นหรือตอนล้างหน้า มักเกิดจากความผิดปกติของเลือดลม ฮอร์โมนแปรเปลี่ยนในร่างกาย และเกิดจากผลข้างเคียงของยาทาฝ้าบางชนิดที่มีสารไฮโครควิโนน สารปรอท ผสมอยู่ การยิงเลเซอร์โดยผู้ยิงที่ไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และไม่ได้ผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ รวมถึงการทายาบางชนิดก็อาจทำให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน


ฝ้าฮอร์โมนรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?
ฝ้า 90% พบในเพศหญิงซึ่งเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิง
และคนที่เป็นฝ้านั้นมียีนที่เอื้อต่อการเกิดฝ้าอยู่ในพันธุกรรมของตนอยู่แล้ว จึงไม่สามารถทำให้หายขาดได้ แต่ปัจจุบันมีวิธีการดูแลรักษาที่ก้าวหน้าไปมาก ทำให้ถึงแม้ไม่หายขาดแต่ก็สามารถทำให้จางลงและควบคุมไม่ให้ฝ้าเข้มขึ้น จนดูใกล้เคียงกับผิวปกติได้เลยทีเดียว ฝ้าฮอร์โมนเป็นแล้วรักษาให้หายขาดต้องปรับตั้งแต่ฮอร์โมนภายในด้วย แค่ทาครีมหรือทำเลเซอร์ ก็เอาไม่อยู่พอจางหายกลับมาเป็นซ้ำเป็นหนักกว่าเดิมอีก วันนี้เรามีวิธีอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องฝ้าฮอร์โมนและฝ้าเลือด

ทากันแดดแล้วทำไมฝ้ายังเข้มขึ้น ?
ปัญหามักเกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนและวิธีใช้กันแดดที่ยังไม่ถูกต้อง
การรักษาฝ้าที่ถูกต้อง ต้องเริ่มจากการป้องกันที่ถูกต้อง ปัจจัยหลักของการเกิดฝ้าที่เราป้องกันได้คือ "แสงแดด" การป้องกันแสงแดดที่ถูกต้องต้องเริ่มจาก

การเลือกครีมกันแดดที่ถูกต้อง ควรเลือกใช้ครีมที่ SPF30+ PA++ ขึ้นไปเพื่อป้องกันได้ทั้งรังสียูวีบี & ยูวีเอ แต่สำหรับคนที่เป็นฝ้าแล้วถ้าให้ดีเลือกที่ SPF50+ PA+++ เพื่อให้ปกป้องผิวจากแดดได้เพียงพอ ปัจจุบันมีครีมกันแดดหลากหลายชนิด อาจทำให้การเลือกกันแดดให้เหมาะกับผิวตนเองเป็นเรื่องยากขึ้น หากพบปัญหาในการเลือกกันแดดควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อเลือกกันแดดที่เหมาะกับผิวหน้า
การใช้กันแดดในปริมาณที่ถูกต้อง คนส่วนมากเข้าใจผิดว่าแค่เลือกใช้กันแดด SPF/PA สูงๆ เท่านั้นก็เพียงพอ ทาปริมาณแค่ไหนก็ได้ คงจะได้ SPF/PA เท่ากับที่ระบุไว้ ซึ่งความจริง หากอยากได้ SPF/PA ตามที่ระบุของกันแดด ต้องทากันแดดปริมาณ 2 มิลลิกรัมต่อตารางเซนติเมตร หรือเท่ากับปริมาณ 1 ข้อนิ้วมือพูนๆ ซึ่งปกติน้อยคนที่จะทาได้ตามปริมาณนั้น แล้วถ้าใช้ไม่ถึงล่ะจะเป็นอย่างไร จะได้ SPF แค่ไหน
ลองดูงานวิจัยในภาพ (Fig 1) ใช้กันแดด SPF 35 มาทดลองพบว่า หากลดปริมาณกันแดดลงครึ่งหนึ่ง เป็นหนึ่งข้อนิ้วมือ(1 mg/cm2) SPF ลดลงเหลือ 5!!! นั่นหมายถึงถ้าทาน้อยกว่านั้นก็แทบจะไม่ได้ประโยชน์จากกันแดดเลย

(งานวิจัย : The relation between the amount of sunscreen applied and the sun protection factor in Asian skin.)

นั่นจึงเป็นเหตุให้เราควรใช้ SPF สูงๆ เพราะแม้จะใช้ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดก็ยังพอเหลือ SPF ปกป้องผิวได้บ้าง
ส่วนมากเราจะทากันแดดกันครั้งเดียวตอนเช้าแล้วเชื่อว่าปกป้องผิวเราได้ทั้งวันซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะกันแดดไม่ว่าจะยี่ห้อไหนรุ่นไหนในสภาพความเป็นจริงก็ปกป้องผิวได้ไม่เกิน 2-6 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นในคนทั่วไปอาจต้องทาซ้ำทุก 4 ชม. แต่ในคนที่เป็นฝ้าควรทาซ้ำทุก 2 ชม.หากต้องอยู่กลางแจ้ง
Q : การรักษาฝ้ามีวิธีใดบ้าง ?
A : การรักษาฝ้าปัจจุบันมีหลายวิธี
การใช้ยาทา มีอยู่หลายสูตร ซึ่งส่วนผสมหลักคือ ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ซึ่งเป็นยาที่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะหากมีสัดส่วนที่มากเกินไปจะเกิดอันตรายถึงขั้นเซลล์เม็ดสีตายและเกิดเป็นด่างขาวขึ้น ซึ่งพบปัญหานี้ได้บ่อยจากการทำครีมฝ้าหน้าใสขายตามท้องตลาดโดยผู้ผลิตไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ จนส่งผลเสียถึงผู้บริโภคในที่สุด แต่ถ้าใช้ในสัดส่วนที่ถูกต้องจะให้ผลการรักษาทีดี
การใช้ยารับประทานกลุ่ม Tranexamic acid เป็นยาที่มีรายงานทางการแพทย์ว่าสามารถทำให้ฝ้าจางลงได้ แต่เนื่องจากยาตัวนี้มีผลรักษาเกี่ยวกับระบบการแข็งตัวของเลือด & ผลข้างเคียงอื่นๆ ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยารับประทานควรได้รับการตรวจและประเมินก่อนให้ยาโดยแพทย์เฉพาะทางผิวหนังก่อนเสมอ
การใช้เลเซอร์และทรีตเมนท์รักษาฝ้า
Chemical peeling การผลัดผิวด้วยกรด TCA หรือกรดผลไม้ เพื่อทำให้ผิวหนังบริเวณที่มีฝ้าหลุดลอกออก ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมนักเพราะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงและรอยดำได้
Electroporation อิเล็คโตรพอเรชั่น คือการใช้เครื่องมือที่ใช้ ion wave นำตัวยาเข้าสู่ชั้นผิวได้ลึกกว่าการทายา เพื่อลดการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสี มักใช้เสริมการรักษาหลังจากที่ทำเลเซอร์
เลเซอร์ที่ทำลายเม็ดสีส่วนเกิน เลเซอร์กลุ่มนี้จะผ่านผิวหนังลงไปทำให้เม็ดสีส่วนเกินแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ และถูกทำลายต่อไป โดยไม่ทำให้ผิวบาง/ไวแดด (ถ้าเป็นเลเซอร์ที่มาตรฐาน & ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจริงๆ) ได้แก่ Q-switched Nd YAG , Copper Bromide laser , PicoSure etc. การจะเลือกใช้เลเซอร์ชนิดใดควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและเลือกชนิดเลเซอร์ที่เหมาะกับปัญหามากที่สุด เพื่อผลการรักษาที่น่าพึงพอใจ
Q : ฝ้าควรเริ่มรักษาเมื่อใด ?
A : ฝ้าโดยปกติจะเริ่มพบเมื่อช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ควรเริ่มรักษาตั้งแต่เริ่มพบปัญหา
เพราะยิ่งเริ่มรักษาเร็วเมื่อยังเป็นน้อยการรักษาจะได้ผลดีกว่าปล่อยให้เป็นเยอะๆ แล้วค่อยมารักษา

แต่ปัญหาจุดด่างดำบนใบหน้าของผู้หญิงไม่ได้มีฝ้าอย่างเดียว มีทั้ง กระลึก (Nevus of Ota/Hori) กระแดด (Freckle) กระแดดชนิดลึก (Solar lentigo) กระเนื้อ (Seborrheic keratosis) etc.

ซึ่งหากพบจุดด่างดำที่เริ่มเห็นชัดบนใบหน้า ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางผิวหนังก่อนเสมอ เพราะการวินิจฉัยที่ถูกต้องจะนำไปสู่ผลการรักษาที่ดีและน่าพึงพอใจในที่สุด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้